งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี โทร 035 - 578032 - 3 ต่อ 6255,204

โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายแกนนำสุขภาพใจชุมชนคนเดิมบาง ปี 2552



วัตถุประสงค์
1.เพื่อสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายงานสุขภาพจิตในชุมชนให้ครอบคลุมทั้งอำเภอ
2.เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระหว่างเครือข่ายงานสุขภาพจิตในชุมชน
3.เพื่อพัฒนาแนวทางป้องกัน ส่งเสริม และดูแลรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนอย่างครบวงจร และต่อเนื่อง

วิธีดำเนินงาน

.

๑. ประสานพื้นที่

๑. ประสานพื้นที่
ประสานงานกับงานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเดิมบางนางบวช ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายแกนนำสุขภาพใจในชุมชนที่จะเข้ารับการอบรม ระบุกลุ่มเสี่ยงและประมาณการจำนวนผู้มีปัญหาสุขภาพจิต พร้อมจัดเตรียมและยืนยันฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชในแต่ละพื้นที่

๒. วางแผนร่วมกับภาคี

๒. วางแผนร่วมกับภาคี
ประชุมสัมมนาบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน และรูปแบบการประสานงานเพื่อการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ของเครือข่ายงานสุขภาพจิตในอำเภอเดิมบางนางบวช

๓. อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ

๓. อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ

ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเดิมบางนางบวช ในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพใจในชุมชนจาก 120 หมู่บ้าน จำนวน 600 คน เพื่อการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูผู้มีปัญหาสุขภาพจิต

๔. หาอาสาสมัครแกนนำสุขภาพใจในชุมชน

๔. หาอาสาสมัครแกนนำสุขภาพใจในชุมชน
ประสานผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตในสถานีอนามัย หาอาสาสมัครแกนนำสุขภาพใจในชุมชนจากผู้ที่ผ่านการอบรมอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 คน มอบหมายภารกิจ คัดกรอง ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพจิตในกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วย

๕. จัดทำแผนการนิเทศงานสุขภาพจิตในชุมชน

๕. จัดทำแผนการนิเทศงานสุขภาพจิตในชุมชน
จัดทำแผนการนิเทศงานสุขภาพจิตในชุมชน และดำเนินการนิเทศ/ติดตามงานเครือข่ายสุขภาพใจในชุมชน โดยการคัดกรอง ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพจิตในกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วย ทุกวันพฤหัสบดี ตามแผนดังตาราง

กิจกรรมต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการ

* ในปี 2553 งานสุขภาพจิตมีโครงการจัดบริการดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างต่อเนื่องและครบวงจรโดยการประสานกับโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ในการซื้อยาราคาต้นทุนมาให้ผู้ป่วยรับประทานอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องเดินทางไกลไปรับยาด้วยตนเอง
* ในส่วนของแกนนำสุขภาพใจในชุมชนทำหน้าที่เป็นผู้ประสานระหว่างผู้ป่วยกับคลินิกสุขภาพจิตในโรงพยาบาลเพื่อติดตามและกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
* ในปี 2553 นี้ ได้มีการจดทะเบียนออกหนังสือรับรองความพิการทางจิตให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชให้ได้รับการสนับสนุนเบี้ยยังชีพรายเดือนโดยบริการออกประเมินสภาพจิตผู้ป่วยในพื้นที่กรณีไม่สามารถพามาตรวจที่โรงพยาบาลได้ พยาบาลจิตเวชทำหน้าที่ประสานกับแพทย์ในการออกใบรับรองความพิการดังกล่าวให้